วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559




โสธร ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำชี ซึ่งได้ชื่อว่า เมืองบั้งไฟ เป็นดินแดนที่มีอดีตอันล้ำค่าและยาวนานกว่า ๒๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว
    ยโสธร มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเกี่ยวพันกับเมืองหนองบัวลุมภู "นครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน" (อดีตอำเภอหนองบัวลำภูในจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) และเกี่ยวพันกับเมืองอุบล กล่าวคือ ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ พระเจ้าตา เจ้าพระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทน์ อพยพครอบครัวและบริวารหนีมาเพื่อตั้งรกรากใหม่ เนื่องจากไม่พอใจเจ้านครคนใหม่ โดยใช้ชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองหนองบัวลุมภู ขณะเดียวกัน พระเจ้าศิริบุญสาร ซึ่งเป็นเจ้านครเวียงจันทน์อยู่เกิดหวาดระแวงจึงยกกองทัพจากนครเวียงจันทน์มาปราบปราม พระเจ้าตาถูกข้าศึกยิงด้วยอาวุธปืน และฟันด้วยดาบจนถึงแก่พิราลัยในที่รบ เจ้าพระวอ เจ้าคำผง และเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องทั้ง ๒ ของเจ้าพระวอ อีกทั้งเจ้าก่ำ เจ้าทิดพรมได้ยกทัพฝ่าหนีออกจากเมืองหนองบัวลุมภูไปพึ่งพาเจ้านครจำปาศักดิ์ ขบวนทัพของเจ้าพระวอได้เดินทางตามลุ่มน้ำชีมาพักกับเจ้าคำสูผู้ปกครองบ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบัน คือ จังหวัดยโสธร ) ภายหลังต่อมาเจ้าพระวอดำริว่าหากอยู่กับเจ้าคำสูแล้ว ถ้าเวียงจันทน์ยกทัพมาก็จะเป็นการลำบาก และจะเกิดศึกสงครามกันต่อไป เมื่อประชุมตกลงกันแล้วจึงได้พาไพร่พลอพยพลงไปตามลำน้ำมูล และสร้างเมืองใหม่ที่ดอนวังกองเขตนครจำปาศักดิ์ ตามรับสั่งของพระเจ้าองค์หลวงเจ้านครจำแาศักดิ์ โดยเจ้าพระวอให้ขุดคูสร้างค่ายขึ้นเรียกว่า "ค่ายบ้านดู่บ้านแก" ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ เมื่อพระเจ้าศิริบุญสารทราบเรื่อง จึงได้ยกทัพมาปราบอีกจนเจ้าพระวอถึงแก่ความตาย เจ้าคำผงน้องเจ้าพระวอและบริวารจึงได้อพยพต่อไปยังเกาะกลางลำน้ำมูลเรียกว่า "ดอนมดแดง" แต่เนื่องจากเป็นที่ต่ำไม่เหมาะสมที่จะสร้างเมืองจึงอพยพขึ้นมาตามลำน้ำมูลถึงห้วยแจระแมแล้วมาสร้างเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้งเมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๓๒๒ แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลขอขึ้นอยู่ในขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองที่ตั้งว่า "เมืองอุบล" เพื่อเป็นการรำลึกถึงเมืองเดิมของตน(เจ้าคำผง) คือเมืองหนองบัวลุมภู จากนั้นเจ้าคำผงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองอุบล และได้รับพระราชทินนามว่า "พระปทุมสุรราช"
ลังจากนั้นต่อมา เจ้าฝ่ายหน้าน้องพระปทุมสุรราชเจ้าเมืองอุบล พร้อมกับนางอูสา ไพร่พลญาติวงศาอีกส่วนหนึ่งได้ขอแยกตัวไปอยู่ บ้านสิงห์ท่าซึ่งเจ้าคำสูปกครองอยู่ พระปทุมสุรราชไม่ขัดข้องจึงได้แยกย้ายกันไปทำมาหากินที่บ้านสิงห์ท่า ได้ปรับปรุงและสร้างบ้านสิงห์ท่าจนเจริญรุ่งเรือง
ากเรื่องราวดังกล่าว จังหวัดยโสธรจึงมีความเกี่ยวพันกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอุบลราชธานี
.ศ. ๒๓๒๕ หลังจากที่เจ้าฝ่ายหน้าได้ไปช่วยปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วเขาโองที่นครจำปาศักดิ์ ตามใบบอกของพระปทุมสุรราช เจ้าฝ่ายหน้าก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "เจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศา" ครองนครจำปาศักดิ์ตามบัญชาของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
.ศ. ๒๓๕๔ เจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศาถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้เจ้าหนู หลานเจ้านครจำปาศักดิ์ ครองนครจำปาศักดิ์สืบไป ฝ่ายเจ้าราชวงศ์สิงห์ บุตรเจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศากลับมาอยู่บ้านเดิมคือบ้านสิงห์ท่า และได้นำเอาอัฐิของเจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศากลับมาด้วย แนะนำมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ใกล้กับพระธาตุพระอานนท์ซึ่งยังปรากฏอยู่จนปัจจุบัน
.ศ. ๒๓๕๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า "เมืองยศสุนทร" (คำว่า "ยศสุนทร" ต่อมากลายเป็น "ยะโสธร" มีความหมายว่า "ทรงไว้ซึ่งยศ" แต่การเขียนหรือการเรียกสั้น ๆ ว่า "ยะโส" ไม่เป็นที่ไพเราะหูและไม่เป็นมงคลนาม ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยะโสธร (พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๑๓) ได้มีหนังสือขอให้เขียนชื่อเสียใหม่เป็น "ยโสธร" และได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของราชบัณฑิตยสถานให้เปลี่ยนได้ และใช้มาจนบัดนี้) ให้เจ้าราชวงศ์สิงห์เป็นเจ้าครองเมืองมีราชทินนามว่า "พระสุนทรราชวงศา" เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร
.ศ. ๒๔๓๓ สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการจัดรูปการปกครองใหม่ หัวเมืองอีสานชั้นเอก โท ตรีและจัตวา ถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า "กอง" สำหรับเมืองยโสธรถูกรวมเข้าอยู่ในหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีข้าหลวงตั้งกองว่าราชการอยู่ที่เมืองอุบล ประกอบด้วยหัวเมือง ๑๒ หัวเมือง คือ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภูแล่นช้าง กมลาไสย เขมราฐ นองสองคอนดอนดง ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
.ศ. ๒๔๔๓ ได้ยุบเลิกมณฑลอีสาน เมืองยโสธรได้รวมเข้ากับเมืองอุบล โดยแยกออกเป็น ๒ อำเภอ คือ อำเภออุทัยยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอ คำเขื่อนแก้ว และอำเภอประจิมยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอยโสธร


.ศ. ๒๔๙๔ กระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มขอตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัด จนกระทั่งถึงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ จึงได้มีประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๗๐ ตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๑๕ โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมกันเป็นจังหวัดยโสธร เป็นจังหวัดที่ ๗๑ ของประเทศไทย

ข้อมูลจาก:https://sites.google.com/site/anuthidaka/naeana-canghwad-ysothr/b-prawati-khwam-pen-ma-canghwad-ysothr
00:59 thanyathorn



โสธร ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำชี ซึ่งได้ชื่อว่า เมืองบั้งไฟ เป็นดินแดนที่มีอดีตอันล้ำค่าและยาวนานกว่า ๒๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว
    ยโสธร มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเกี่ยวพันกับเมืองหนองบัวลุมภู "นครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน" (อดีตอำเภอหนองบัวลำภูในจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) และเกี่ยวพันกับเมืองอุบล กล่าวคือ ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ พระเจ้าตา เจ้าพระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทน์ อพยพครอบครัวและบริวารหนีมาเพื่อตั้งรกรากใหม่ เนื่องจากไม่พอใจเจ้านครคนใหม่ โดยใช้ชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองหนองบัวลุมภู ขณะเดียวกัน พระเจ้าศิริบุญสาร ซึ่งเป็นเจ้านครเวียงจันทน์อยู่เกิดหวาดระแวงจึงยกกองทัพจากนครเวียงจันทน์มาปราบปราม พระเจ้าตาถูกข้าศึกยิงด้วยอาวุธปืน และฟันด้วยดาบจนถึงแก่พิราลัยในที่รบ เจ้าพระวอ เจ้าคำผง และเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องทั้ง ๒ ของเจ้าพระวอ อีกทั้งเจ้าก่ำ เจ้าทิดพรมได้ยกทัพฝ่าหนีออกจากเมืองหนองบัวลุมภูไปพึ่งพาเจ้านครจำปาศักดิ์ ขบวนทัพของเจ้าพระวอได้เดินทางตามลุ่มน้ำชีมาพักกับเจ้าคำสูผู้ปกครองบ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบัน คือ จังหวัดยโสธร ) ภายหลังต่อมาเจ้าพระวอดำริว่าหากอยู่กับเจ้าคำสูแล้ว ถ้าเวียงจันทน์ยกทัพมาก็จะเป็นการลำบาก และจะเกิดศึกสงครามกันต่อไป เมื่อประชุมตกลงกันแล้วจึงได้พาไพร่พลอพยพลงไปตามลำน้ำมูล และสร้างเมืองใหม่ที่ดอนวังกองเขตนครจำปาศักดิ์ ตามรับสั่งของพระเจ้าองค์หลวงเจ้านครจำแาศักดิ์ โดยเจ้าพระวอให้ขุดคูสร้างค่ายขึ้นเรียกว่า "ค่ายบ้านดู่บ้านแก" ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ เมื่อพระเจ้าศิริบุญสารทราบเรื่อง จึงได้ยกทัพมาปราบอีกจนเจ้าพระวอถึงแก่ความตาย เจ้าคำผงน้องเจ้าพระวอและบริวารจึงได้อพยพต่อไปยังเกาะกลางลำน้ำมูลเรียกว่า "ดอนมดแดง" แต่เนื่องจากเป็นที่ต่ำไม่เหมาะสมที่จะสร้างเมืองจึงอพยพขึ้นมาตามลำน้ำมูลถึงห้วยแจระแมแล้วมาสร้างเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้งเมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๓๒๒ แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลขอขึ้นอยู่ในขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองที่ตั้งว่า "เมืองอุบล" เพื่อเป็นการรำลึกถึงเมืองเดิมของตน(เจ้าคำผง) คือเมืองหนองบัวลุมภู จากนั้นเจ้าคำผงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองอุบล และได้รับพระราชทินนามว่า "พระปทุมสุรราช"
ลังจากนั้นต่อมา เจ้าฝ่ายหน้าน้องพระปทุมสุรราชเจ้าเมืองอุบล พร้อมกับนางอูสา ไพร่พลญาติวงศาอีกส่วนหนึ่งได้ขอแยกตัวไปอยู่ บ้านสิงห์ท่าซึ่งเจ้าคำสูปกครองอยู่ พระปทุมสุรราชไม่ขัดข้องจึงได้แยกย้ายกันไปทำมาหากินที่บ้านสิงห์ท่า ได้ปรับปรุงและสร้างบ้านสิงห์ท่าจนเจริญรุ่งเรือง
ากเรื่องราวดังกล่าว จังหวัดยโสธรจึงมีความเกี่ยวพันกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอุบลราชธานี
.ศ. ๒๓๒๕ หลังจากที่เจ้าฝ่ายหน้าได้ไปช่วยปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วเขาโองที่นครจำปาศักดิ์ ตามใบบอกของพระปทุมสุรราช เจ้าฝ่ายหน้าก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "เจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศา" ครองนครจำปาศักดิ์ตามบัญชาของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
.ศ. ๒๓๕๔ เจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศาถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้เจ้าหนู หลานเจ้านครจำปาศักดิ์ ครองนครจำปาศักดิ์สืบไป ฝ่ายเจ้าราชวงศ์สิงห์ บุตรเจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศากลับมาอยู่บ้านเดิมคือบ้านสิงห์ท่า และได้นำเอาอัฐิของเจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศากลับมาด้วย แนะนำมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ใกล้กับพระธาตุพระอานนท์ซึ่งยังปรากฏอยู่จนปัจจุบัน
.ศ. ๒๓๕๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า "เมืองยศสุนทร" (คำว่า "ยศสุนทร" ต่อมากลายเป็น "ยะโสธร" มีความหมายว่า "ทรงไว้ซึ่งยศ" แต่การเขียนหรือการเรียกสั้น ๆ ว่า "ยะโส" ไม่เป็นที่ไพเราะหูและไม่เป็นมงคลนาม ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยะโสธร (พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๑๓) ได้มีหนังสือขอให้เขียนชื่อเสียใหม่เป็น "ยโสธร" และได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของราชบัณฑิตยสถานให้เปลี่ยนได้ และใช้มาจนบัดนี้) ให้เจ้าราชวงศ์สิงห์เป็นเจ้าครองเมืองมีราชทินนามว่า "พระสุนทรราชวงศา" เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร
.ศ. ๒๔๓๓ สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการจัดรูปการปกครองใหม่ หัวเมืองอีสานชั้นเอก โท ตรีและจัตวา ถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า "กอง" สำหรับเมืองยโสธรถูกรวมเข้าอยู่ในหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีข้าหลวงตั้งกองว่าราชการอยู่ที่เมืองอุบล ประกอบด้วยหัวเมือง ๑๒ หัวเมือง คือ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภูแล่นช้าง กมลาไสย เขมราฐ นองสองคอนดอนดง ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
.ศ. ๒๔๔๓ ได้ยุบเลิกมณฑลอีสาน เมืองยโสธรได้รวมเข้ากับเมืองอุบล โดยแยกออกเป็น ๒ อำเภอ คือ อำเภออุทัยยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอ คำเขื่อนแก้ว และอำเภอประจิมยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอยโสธร


.ศ. ๒๔๙๔ กระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มขอตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัด จนกระทั่งถึงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ จึงได้มีประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๗๐ ตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๑๕ โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมกันเป็นจังหวัดยโสธร เป็นจังหวัดที่ ๗๑ ของประเทศไทย

ข้อมูลจาก:https://sites.google.com/site/anuthidaka/naeana-canghwad-ysothr/b-prawati-khwam-pen-ma-canghwad-ysothr
สภาพทั่วไปของจังหวัดยโสธร
1.  ลักษณะทางกายภาพ 
1.1  ที่ตั้ง จังหวัดยโสธรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ  531  กิโลเมตร  (ทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข 1, 2, 202) และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  2  (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร  อำนาจเจริญ) 
 
ภาพแสดงที่ตั้งและขอบเขตของจังหวัดยโสธร
          1.2  ขนาดพื้นที่  จังหวัดยโสธรมีพื้นที่  4,161.444  ตารางกิโลเมตร  หรือ 2,600,902.5 ไร่   คิดเป็นร้อยละ  0.81  ของพื้นที่ทั่วประเทศ  และคิดเป็นร้อยละ  12.89  ของพื้นที่กลุ่มจังหวัด
ที่
อำเภอ
พื้นที่
ระยะทาง (กม.)
ไร่
ตร.กม.
1
เมืองยโสธร
361,375
578.200
-
2
เลิงนกทา
589,250
942.800
69
   3    
คำเขื่อนแก้ว
399,000
638.400
23
4
มหาชนะชัย
284,542.5
455.268
41
5
กุดชุม
340,000
544,000
37
6
ป่าติ้ว
192,500
308.000
28
7
ค้อวัง
93,750
150.000
70
8
ทรายมูล
170,485
272.776
18
9
ไทยเจริญ
170,000
272.000
50
รวม
2,600,902.5
4,161.444
-
ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร 
1.3  ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
                    สภาพพื้นที่หรือลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดยโสธร  มีลักษณะลาดเอียงจากทิศตะวันตกลงไปทางทิศตะวันออก พื้นที่ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น  มีสภาพเป็นป่าและมีแหล่งน้ำขนาดกลาง ได้แก่ ห้วยลิงโจนห้วยสะแบก  ลำโพง ลำเซบาย ส่วนพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ เป็นที่ราบลุ่มต่ำสลับซับซ้อนกับสันดินริมน้ำ  มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่  ได้แก่ แม่น้ำชี  และขนาดกลาง  ได้แก่  ลำน้ำยัง  ลำทวนไหลผ่าน  ลักษณะดินส่วนมากเป็นดินทรายและดินเค็ม  มีหนอง บึง ลำห้วย และแหล่งน้ำขนาดเล็กอยู่ทั่วไป  พื้นที่อยู่ในลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล   สำหรับภูมิอากาศ จังหวัดยโสธรมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว  ความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยเท่ากับ 71.1%  อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส   อุณหภูมิต่ำสุด 11 องศาเซลเซียส  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 5 ปี (2552 – 2555) เฉลี่ย 1,600 ม.ม.ต่อปี 
2.  การปกครองและประชากร
2.1  การปกครอง
2.1.1  อาณาเขต  จังหวัดยโสธรมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง  ดังนี้
ทิศเหนือ           ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและมุกดาหาร
ทิศตะวันออก      ติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี
ทิศใต้             ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด
2.1.2  การปกครองท้องที่  และการปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่
อำเภอ
จำนวน
ตำบล
หมู่บ้าน
อบจ.
เทศบาลนคร
เทศบาลเมือง
เทศบาลตำบล
อบต.
1
เมืองยโสธร
17
190
1
-
1
5
12
2
เลิงนกทา
10
145
-
-
-
9
3
3      
คำเขื่อนแก้ว
13
115
-
-
-
2
12
4
มหาชนะชัย
10
103
-
-
-
1
10
5
กุดชุม
9
128
-
-
-
1
9
6
ป่าติ้ว
5
57
-
-
-
1
5
7
ค้อวัง
4
45
-
-
-
1
4
8
ทรายมูล
5
54
-
-
-
2
4
9
ไทยเจริญ
5
48
-
-
-
1
4

รวม
78
885
1
-
1
23
63
ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร 

1)  จังหวัดยโสธร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 78 ตำบล 885 หมู่บ้าน ประกอบด้วย อำเภอเมืองยโสธร อำเภอเลิงนกทา อำเภอไทยเจริญ อำเภอกุดชุม อำเภอทรายมูล อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง
2)  การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธรมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 รูปแบบ จำนวน 88 แห่ง แยกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 23 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 63 แห่ง
2.1.3  จังหวัดยโสธรมีส่วนราชการส่วนภูมิภาคประจำจังหวัด จำนวน  32  ส่วนราชการ 
ส่วนราชการส่วนกลางที่มีที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัด  จำนวน  36 ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ จำนวน  7  แห่ง
2.1.4   องค์กรพัฒนาเอกชนในจังหวัด  จังหวัดยโสธรมีองค์กรเอกชนในหลายลักษณะเพื่อพัฒนาสังคม  คุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพ ได้แก่ มูลนิธิ  สมาคม สโมสร  ชมรม  และกลุ่มอาชีพต่างๆ ซึ่งองค์กรที่เด่นชัด และมีบทบาท เช่น หอการค้าจังหวัดยโสธร สภาอุตสาหกรรมจังหวัด  สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพจังหวัด  สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัด เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิรวมสามัคคี  และกลุ่มอาชีพในพื้นที่ที่เป็นองค์กรพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง อาทิเช่น  กลุ่มเกษตรกรทำนานาโส่ อำเภอกุดชุม กลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย กลุ่มเกษตรกรรมธรรมชาติยั่งยืน อำเภอค้อวัง  ซึ่งจะผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัยและอินทรีย์ส่งต่างประเทศ และมีกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปต่างๆ
2.2  ประชากรและโครงสร้างประชากร
1) ข้อมูลประชากรจังหวัดยโสธร ย้อนหลัง 5 ปี (2552 – ปัจจุบัน)
ที่
พ.ศ.
เพศชาย (คน)
เพศหญิง (คน)
รวม (คน)
หมายเหตุ
1
2552
270,734
268,400
539,134
 
2
2553
270,682
268,575
539,257
 
3
2554
270,306
268,547
538,853
 
4
2555
270,933
269,194
540,127
 
5
2556
271,034
269,208
540,242
(31 ส.ค. 56)
ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร 

2)  ประชากร จังหวัดยโสธรมีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 540,242 คน เป็นชาย 271,034 คน และหญิง 269,208 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 155,884 ครัวเรือน มีอัตราการเพิ่มธรรมชาติเฉลี่ยร้อยละ 0.45 ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 130 คน/ ตารางกิโลเมตร
ที่
อำเภอ
ตำบล
หมู่บ้าน
ครัวเรือน
จำนวนประชากร
ชาย
หญิง
รวม
1
เมืองยโสธร
17
190
42,255
65,738
64,847
130,585
2
เลิงนกทา
10
145
27,159
47,771
47,856
95,627
3
คำเขื่อนแก้ว 
13
115
18,664
34,001
33,729
67,730
4
มหาชนะชัย 
10
103
14,652
28,939
28,675
57,614
5
กุดชุม
9
128
19,830
33,382
32,932
66,314
6
ป่าติ้ว            
5
57
10,117
17,676
17,516
35,192
7
ทรายมูล
5
54
8,456
15,554
15,540
31,094
8
ค้อวัง  
4
45
6,394
12,785
12,972
25,757
9
ไทยเจริญ
5
48
8,357
15,188
15,141
30,329
รวม
78
885
155,884
270,034
269,208
540,242
ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556) 

00:55 thanyathorn
สภาพทั่วไปของจังหวัดยโสธร
1.  ลักษณะทางกายภาพ 
1.1  ที่ตั้ง จังหวัดยโสธรตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ  531  กิโลเมตร  (ทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข 1, 2, 202) และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง  2  (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร  อำนาจเจริญ) 
 
ภาพแสดงที่ตั้งและขอบเขตของจังหวัดยโสธร
          1.2  ขนาดพื้นที่  จังหวัดยโสธรมีพื้นที่  4,161.444  ตารางกิโลเมตร  หรือ 2,600,902.5 ไร่   คิดเป็นร้อยละ  0.81  ของพื้นที่ทั่วประเทศ  และคิดเป็นร้อยละ  12.89  ของพื้นที่กลุ่มจังหวัด
ที่
อำเภอ
พื้นที่
ระยะทาง (กม.)
ไร่
ตร.กม.
1
เมืองยโสธร
361,375
578.200
-
2
เลิงนกทา
589,250
942.800
69
   3    
คำเขื่อนแก้ว
399,000
638.400
23
4
มหาชนะชัย
284,542.5
455.268
41
5
กุดชุม
340,000
544,000
37
6
ป่าติ้ว
192,500
308.000
28
7
ค้อวัง
93,750
150.000
70
8
ทรายมูล
170,485
272.776
18
9
ไทยเจริญ
170,000
272.000
50
รวม
2,600,902.5
4,161.444
-
ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร 
1.3  ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
                    สภาพพื้นที่หรือลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดยโสธร  มีลักษณะลาดเอียงจากทิศตะวันตกลงไปทางทิศตะวันออก พื้นที่ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น  มีสภาพเป็นป่าและมีแหล่งน้ำขนาดกลาง ได้แก่ ห้วยลิงโจนห้วยสะแบก  ลำโพง ลำเซบาย ส่วนพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ เป็นที่ราบลุ่มต่ำสลับซับซ้อนกับสันดินริมน้ำ  มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่  ได้แก่ แม่น้ำชี  และขนาดกลาง  ได้แก่  ลำน้ำยัง  ลำทวนไหลผ่าน  ลักษณะดินส่วนมากเป็นดินทรายและดินเค็ม  มีหนอง บึง ลำห้วย และแหล่งน้ำขนาดเล็กอยู่ทั่วไป  พื้นที่อยู่ในลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล   สำหรับภูมิอากาศ จังหวัดยโสธรมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว  ความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยเท่ากับ 71.1%  อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส   อุณหภูมิต่ำสุด 11 องศาเซลเซียส  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 5 ปี (2552 – 2555) เฉลี่ย 1,600 ม.ม.ต่อปี 
2.  การปกครองและประชากร
2.1  การปกครอง
2.1.1  อาณาเขต  จังหวัดยโสธรมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง  ดังนี้
ทิศเหนือ           ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและมุกดาหาร
ทิศตะวันออก      ติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี
ทิศใต้             ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด
2.1.2  การปกครองท้องที่  และการปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่
อำเภอ
จำนวน
ตำบล
หมู่บ้าน
อบจ.
เทศบาลนคร
เทศบาลเมือง
เทศบาลตำบล
อบต.
1
เมืองยโสธร
17
190
1
-
1
5
12
2
เลิงนกทา
10
145
-
-
-
9
3
3      
คำเขื่อนแก้ว
13
115
-
-
-
2
12
4
มหาชนะชัย
10
103
-
-
-
1
10
5
กุดชุม
9
128
-
-
-
1
9
6
ป่าติ้ว
5
57
-
-
-
1
5
7
ค้อวัง
4
45
-
-
-
1
4
8
ทรายมูล
5
54
-
-
-
2
4
9
ไทยเจริญ
5
48
-
-
-
1
4

รวม
78
885
1
-
1
23
63
ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร 

1)  จังหวัดยโสธร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 78 ตำบล 885 หมู่บ้าน ประกอบด้วย อำเภอเมืองยโสธร อำเภอเลิงนกทา อำเภอไทยเจริญ อำเภอกุดชุม อำเภอทรายมูล อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง
2)  การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธรมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 รูปแบบ จำนวน 88 แห่ง แยกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 23 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 63 แห่ง
2.1.3  จังหวัดยโสธรมีส่วนราชการส่วนภูมิภาคประจำจังหวัด จำนวน  32  ส่วนราชการ 
ส่วนราชการส่วนกลางที่มีที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัด  จำนวน  36 ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ จำนวน  7  แห่ง
2.1.4   องค์กรพัฒนาเอกชนในจังหวัด  จังหวัดยโสธรมีองค์กรเอกชนในหลายลักษณะเพื่อพัฒนาสังคม  คุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพ ได้แก่ มูลนิธิ  สมาคม สโมสร  ชมรม  และกลุ่มอาชีพต่างๆ ซึ่งองค์กรที่เด่นชัด และมีบทบาท เช่น หอการค้าจังหวัดยโสธร สภาอุตสาหกรรมจังหวัด  สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพจังหวัด  สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัด เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิรวมสามัคคี  และกลุ่มอาชีพในพื้นที่ที่เป็นองค์กรพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง อาทิเช่น  กลุ่มเกษตรกรทำนานาโส่ อำเภอกุดชุม กลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย กลุ่มเกษตรกรรมธรรมชาติยั่งยืน อำเภอค้อวัง  ซึ่งจะผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัยและอินทรีย์ส่งต่างประเทศ และมีกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปต่างๆ
2.2  ประชากรและโครงสร้างประชากร
1) ข้อมูลประชากรจังหวัดยโสธร ย้อนหลัง 5 ปี (2552 – ปัจจุบัน)
ที่
พ.ศ.
เพศชาย (คน)
เพศหญิง (คน)
รวม (คน)
หมายเหตุ
1
2552
270,734
268,400
539,134
 
2
2553
270,682
268,575
539,257
 
3
2554
270,306
268,547
538,853
 
4
2555
270,933
269,194
540,127
 
5
2556
271,034
269,208
540,242
(31 ส.ค. 56)
ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร 

2)  ประชากร จังหวัดยโสธรมีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 540,242 คน เป็นชาย 271,034 คน และหญิง 269,208 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 155,884 ครัวเรือน มีอัตราการเพิ่มธรรมชาติเฉลี่ยร้อยละ 0.45 ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 130 คน/ ตารางกิโลเมตร
ที่
อำเภอ
ตำบล
หมู่บ้าน
ครัวเรือน
จำนวนประชากร
ชาย
หญิง
รวม
1
เมืองยโสธร
17
190
42,255
65,738
64,847
130,585
2
เลิงนกทา
10
145
27,159
47,771
47,856
95,627
3
คำเขื่อนแก้ว 
13
115
18,664
34,001
33,729
67,730
4
มหาชนะชัย 
10
103
14,652
28,939
28,675
57,614
5
กุดชุม
9
128
19,830
33,382
32,932
66,314
6
ป่าติ้ว            
5
57
10,117
17,676
17,516
35,192
7
ทรายมูล
5
54
8,456
15,554
15,540
31,094
8
ค้อวัง  
4
45
6,394
12,785
12,972
25,757
9
ไทยเจริญ
5
48
8,357
15,188
15,141
30,329
รวม
78
885
155,884
270,034
269,208
540,242
ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556) 

ตราประจำจังหวัด รูปพระธาตุอานนท์ ปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดยโสธร
ขนาบด้วยรูปสิงห์ 2 ตัว เบื้องล่างของภาพดังกล่าวรองรับด้วยรูปดอกบัวบาน


ข้อมูลจาก : สำนักงานจังหวัดยโสธร
00:54 thanyathorn
ตราประจำจังหวัด รูปพระธาตุอานนท์ ปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดยโสธร
ขนาบด้วยรูปสิงห์ 2 ตัว เบื้องล่างของภาพดังกล่าวรองรับด้วยรูปดอกบัวบาน


ข้อมูลจาก : สำนักงานจังหวัดยโสธร


ข้อมูลจาก : สำนักงานจังหวัดยโสธร
00:54 thanyathorn


ข้อมูลจาก : สำนักงานจังหวัดยโสธร
                     เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ

ข้อมูลจาก : สำนักงานจังหวัดยโสธร



00:51 thanyathorn
                     เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ

ข้อมูลจาก : สำนักงานจังหวัดยโสธร



  • ดอกบัวแดง : ดอกไม้ประจำจังหวัด ยโสธร
    ชื่อสามัญ : Water Lily
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea lotus Linn.
    วงศ์ : NYMPHACACEAE
    ชื่ออื่น : -
    ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
    การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
    สภาพที่เหมาะสม : ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
    ถิ่นกำเนิด : -
ข้อมูลจาก : สำนักงานจังหวัดยโสธร
00:45 thanyathorn
  • ดอกบัวแดง : ดอกไม้ประจำจังหวัด ยโสธร
    ชื่อสามัญ : Water Lily
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea lotus Linn.
    วงศ์ : NYMPHACACEAE
    ชื่ออื่น : -
    ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
    การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
    สภาพที่เหมาะสม : ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
    ถิ่นกำเนิด : -
ข้อมูลจาก : สำนักงานจังหวัดยโสธร
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร
พระพุทธบาทยโสธร
             ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทยโสธร บ้านหนองยาง ตำบลหัวเมือง ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2083 ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเป็นเนินทรายขาวสูงงอกขึ้นกลางพื้นที่ลุ่มน้ำชีนับเป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่าของจังหวัด บริเวณเดียวกันนี้ยังมีโบราณวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปปางนาคปรก (ศิลาแลง) 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 ศอก และหลักศิลาจารึกทำด้วยศิลาแลง 1 หลัก สูง 1 เมตร กว้าง 50 เซ็นติเมตร มีตัวหนังสือโบราณบันทึกไว้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 3 อย่างนี้ พระมหาอุตตปัญญาและสิทธิวิหาริก ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1378 นอกจากนั้นก็เขียนบอกคำนมัสการพระพุทธบาทไว้ บางตัวก็อ่านไม่ออกเพราะเลือนลางมาก ในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี จะมีประชาชนจากอำเภอและตำบลใกล้เคียงไปนมัสการเป็นจำนวนมาก

พระธาตุก่องข้าวน้อย
             ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กม. ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร
พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น
พระธาตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วยสาเหตุเพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิดที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต
นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียงซึ่งกรมศิลปากรกำลังดำเนินการจัดตั้งอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ขึ้น

โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้
             ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร  มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ จากนั้นได้เดินทางไปหาบาทหลวงเดชาแนล และบาทหลวงออมโบรซีโอ ที่บ้านเซซ่ง ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ขอให้ไปช่วยขับไล่ผีปิศาจที่สิงสู่อยู่กับตนและ ครอบครัว ซึ่ง บาทหลวงทั้ง 2 ท่าน ก็ยอมเข้าป่าลึกไปตามคำขอ เมื่อรู้สึกดีขึ้น ทั้ง 5 ครอบครัว จึงเข้านับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ต่อมาบ้านหนองซ่งแย้ มีผู้คนอพยพ ไปอยู่มากขึ้น ในปี ค.ศ. 1909 ชาวบ้านปลูกกระต๊อบ ฝาขัด แตะเล็กๆ ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา นับว่าเป็นจุดกำเนิดวัดซ่งแย้ หรือชื่ออย่าง เป็นทางการ เป็นภาษาละตินว่า วัดอัครเทวดามิคาแอล ตามชื่อนักบุญองค์สำคัญ เป็นภาษาอังกฤษคือโบสถ์ เซนต์ไมเคิล เป็นภาษาฝรั่งเศสคือ โบสถ์แซงต์ มิเชล โดยมีบาทหลวงเดชาแนล เป็นอธิการโบสถ์คนแรก และคนในบ้านหนองซ่งแย้ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวไทยอีสาน ได้มาเข้ารีต ถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เกือบทั้งหมด
หลังจากนั้น ได้มีการสร้างอาคารโบสถ์ใหม่หลายครั้ง โบสถ์ไม้เนื้อแข็งหลังปัจจุบันนี้ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา
 การเดินทาง จากยโสธรใช้ทางหลวงหมายเลข 2169 เลยอำเภอกุดชุมไปประมาณ 7-8 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกราว 600 เมตร ถึงบริเวณโรงเรียนซ่งแย้พิทยาและโบสถ์ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน


พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก
"พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก" หรือบางคนอาจจะเรียกว่า "พิพิธภัณฑ์พญาคางคก"ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทวน มีลักษณะโดดเด่นสุดๆด้วยตัวตึกคางคกสูงเท่าตึก 5 ชั้น ถือเป็นพิพิธภัณฑ์รูปร่างสุดแปลกในประเทศไทยที่สอดแทรกตำนานเกี่ยวกับพญาคางคกและบั้งไฟ ที่เป็นเรื่องเล่าที่เป็นตำนานพื้นเมืองของชาวอีสาน แถมยังสอดแทรกเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์และความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในมีนิทรรศการบอกเรื่องเกี่ยวกับที่มาของบั้งไฟโดยมีการจัดฉายเป็นภาพยนตร์ 4 มิติ และนิทรรศการเกี่ยวกับคางคกชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ในเมืองไทย ที่มีอยู่กว่า 20 ชนิด ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ อพวช. ร่วมศึกษากับมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งมีการเพิ่มการจัดแสดงคางคกชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ทั่วโลก ซึ่งมีกว่า 500 ชนิดร่วมด้วย


ข้อมูลจาก: thai.tourismthailand.org



00:42 thanyathorn
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร
พระพุทธบาทยโสธร
             ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทยโสธร บ้านหนองยาง ตำบลหัวเมือง ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2083 ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเป็นเนินทรายขาวสูงงอกขึ้นกลางพื้นที่ลุ่มน้ำชีนับเป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่าของจังหวัด บริเวณเดียวกันนี้ยังมีโบราณวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปปางนาคปรก (ศิลาแลง) 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 ศอก และหลักศิลาจารึกทำด้วยศิลาแลง 1 หลัก สูง 1 เมตร กว้าง 50 เซ็นติเมตร มีตัวหนังสือโบราณบันทึกไว้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 3 อย่างนี้ พระมหาอุตตปัญญาและสิทธิวิหาริก ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1378 นอกจากนั้นก็เขียนบอกคำนมัสการพระพุทธบาทไว้ บางตัวก็อ่านไม่ออกเพราะเลือนลางมาก ในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี จะมีประชาชนจากอำเภอและตำบลใกล้เคียงไปนมัสการเป็นจำนวนมาก

พระธาตุก่องข้าวน้อย
             ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กม. ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร
พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น
พระธาตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วยสาเหตุเพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิดที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต
นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียงซึ่งกรมศิลปากรกำลังดำเนินการจัดตั้งอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ขึ้น

โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้
             ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร  มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ จากนั้นได้เดินทางไปหาบาทหลวงเดชาแนล และบาทหลวงออมโบรซีโอ ที่บ้านเซซ่ง ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ขอให้ไปช่วยขับไล่ผีปิศาจที่สิงสู่อยู่กับตนและ ครอบครัว ซึ่ง บาทหลวงทั้ง 2 ท่าน ก็ยอมเข้าป่าลึกไปตามคำขอ เมื่อรู้สึกดีขึ้น ทั้ง 5 ครอบครัว จึงเข้านับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ต่อมาบ้านหนองซ่งแย้ มีผู้คนอพยพ ไปอยู่มากขึ้น ในปี ค.ศ. 1909 ชาวบ้านปลูกกระต๊อบ ฝาขัด แตะเล็กๆ ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา นับว่าเป็นจุดกำเนิดวัดซ่งแย้ หรือชื่ออย่าง เป็นทางการ เป็นภาษาละตินว่า วัดอัครเทวดามิคาแอล ตามชื่อนักบุญองค์สำคัญ เป็นภาษาอังกฤษคือโบสถ์ เซนต์ไมเคิล เป็นภาษาฝรั่งเศสคือ โบสถ์แซงต์ มิเชล โดยมีบาทหลวงเดชาแนล เป็นอธิการโบสถ์คนแรก และคนในบ้านหนองซ่งแย้ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวไทยอีสาน ได้มาเข้ารีต ถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เกือบทั้งหมด
หลังจากนั้น ได้มีการสร้างอาคารโบสถ์ใหม่หลายครั้ง โบสถ์ไม้เนื้อแข็งหลังปัจจุบันนี้ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา
 การเดินทาง จากยโสธรใช้ทางหลวงหมายเลข 2169 เลยอำเภอกุดชุมไปประมาณ 7-8 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกราว 600 เมตร ถึงบริเวณโรงเรียนซ่งแย้พิทยาและโบสถ์ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน


พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก
"พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก" หรือบางคนอาจจะเรียกว่า "พิพิธภัณฑ์พญาคางคก"ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทวน มีลักษณะโดดเด่นสุดๆด้วยตัวตึกคางคกสูงเท่าตึก 5 ชั้น ถือเป็นพิพิธภัณฑ์รูปร่างสุดแปลกในประเทศไทยที่สอดแทรกตำนานเกี่ยวกับพญาคางคกและบั้งไฟ ที่เป็นเรื่องเล่าที่เป็นตำนานพื้นเมืองของชาวอีสาน แถมยังสอดแทรกเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์และความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในมีนิทรรศการบอกเรื่องเกี่ยวกับที่มาของบั้งไฟโดยมีการจัดฉายเป็นภาพยนตร์ 4 มิติ และนิทรรศการเกี่ยวกับคางคกชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ในเมืองไทย ที่มีอยู่กว่า 20 ชนิด ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ อพวช. ร่วมศึกษากับมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งมีการเพิ่มการจัดแสดงคางคกชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ทั่วโลก ซึ่งมีกว่า 500 ชนิดร่วมด้วย


ข้อมูลจาก: thai.tourismthailand.org